วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ส้มตำลือเลื่อง เรื่อง แซบ&นัว ร้านป้าแต๋ว นครพนม ครับ....

ส้มตำลือเลื่อง เรื่อง แซบ&นัว  ร้านป้าแต๋ว นครพนม ครับ....
ส้มตำมีอยู่หลายร้าน วันนี้ อยากชวนมา แซบ&นัว กันที่นี่ ร้านป้าแต๋ว นครพนม ริมโขง ที่นั้งสบายๆ ครับ
นอกจากจะมีไก่ย่าง ที่นี่ยังมี ปลาเผาอร่อยๆ หมูกระจก เนื้อ/หมูแดดเดียวรสแซบอีกด้วยนะครับ














ภาพ / บรรบาย โดย อัครเดชา ฮวดคันทะ

เฝ๋อ เลือดแปลง สมหมาย บ้านดอนโมง......แซบนัว เด้อ ครับ..ผมไปกินมาแล้ว..

เฝ๋อ เลือดแปลง สมหมาย บ้านดอนโมง......
แซบนัว เด้อ ครับ..ผมไปกินมาแล้ว..









ภาพ / บรรยายโดย  อัครเดชา ฮวดคันทะ

Blogger ชวนชิม หมูยอ

Blogger ชวนชิม หมูยอ นครพนม ที่ร้าน มันปลา........
หมูยอที่นครพนม นั้นมีจำหน่ายกันทั่วไปหลายๆ ร้าน
แต่วันนี้ผม มีที่ใหม่ ที่แซบ ที่น่ามาชิม ให้ได้มาลองชิม กันครับ
ร้านนี้ เลย ร้านมันปลาของฝาก นอกจากจะมีหมูยอที่เป็นสูตรเฉพาะของร้านแล้ว  ที่นี่ ยังมีให้บริการนำเที่ยว รถเช่า ของฝากน่ารักๆ และให้คำปรึกษาท่านที่ต้องการเดินทางไปท่องเที่ยวกันทั่วโลก อีก นะครับ..แบบว่า มาที่นี่ที่เดียว ครบ และ คุ้ม ครับ...อ๋อ...ร้านเค๊า อยู่ใกล้ๆ วัดพระอินทร์แปลง  เมืองนครพนม นะครับ....
ติดต่อคุณ แตงโม ได้ เลย นะครับ 0980150026









ภาพ / บรรยาย โดย อัครเดชา ฮวดคันทะ

บะหมี่ นครพนม ร้านต้นส้ม นะ ไปลองซะ

บะหมี่ ที่ อ.เมืองนครพนม มีหลายร้านครับ แต่วันนี้ ผม มีร้านมาแนะนำ ชื่อร้านต้นส้ม ครับ..ใกล้ธนาคารออมสิน สาขานครพนม ครับ...อร่อย นะ...ราคาไม่แพงด้วย...แถมเข้ายังมีอีกหลายๆ เมนูให้ทานกันด้วย นะคัรบ......







ภาพ / บรรายาย โดย อัครเดชา ฮวดคันทะ

มานครพนม ลองชิมข้าวหน้าเป็น ที่นี่นะ ร้านอาเหลียง หลังศาลากลางนครพนม



ข้าวหน้าเป็ด แสนอร่อย...ครับ...หลังศาลากลางจังหวัดนครพนม นะ คัรบ...อร่อยเด้อ..ขอบอก








ภาพ / บรรยาย  โดย อัครเดชา ฮวดคันทะ
ก๋วยเตี๋ยวปลา....สูตร  นครพนม.....
ที่นี่เลย...ร้านก๋วยเตี๋ยวหมูลูกสอง บ้านท่าควาย อ.เมืองนครนม ครับ
ร้านนี้ ได้เปรียบหลายๆร้านเลย ครับ เพราะว่าที่ตั้งเขาอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง
มองผ่านเห็นเกาะดอนโดน สปป.ลาว มองเห็นสะพานมิตรภาพ 3
อีกทั้งยังบริการด้วยมิตรไมตรีที่ดี  ที่ตอดรถสะดวกสบาย ด้วย ครับ
พี่เขาเปิดขายเวลากลางวันนะครับ
มานครพนม แวะทาน อร่อยๆ กันนะครับ..แซบนะ..ขอบอก....










ภาพ /เรื่องราว โดย อัครเดชา ฮวดคันตทะ

หมี่กะทิ นครพนม อร่อยริงๆ สมคำเล่าลือ




อีกหนึ่งเมนูที่กระผมจะขอนำเสนอที่กิน... แซบ ......ที่นครพนม   ร้านนี้เลย  
ร้านย่าแตน ตรงข้ามแลนมาร์ค นครพนม เขาขายอาหารหลากหลายเมนูครับ
แต่ที่จะเด็ดสุดวันนี้ ...ต้องนี่เลย หมี่กะทิ สูตรเด็ด
มานครพนม แวะชิม แวะทานกันได้นะครับ...ราคาไม่แพงด้วยนะ ขอบอก.....












ภาพ/เรื่องราว โดย อัครเดชา ฮวดคันทะ

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

“ร่วมรักษ์สายน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำ” โดย ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย ร่วมกับ WWF-ประเทศไทย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย


กำลังแสดง DSCF4043.JPG


ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย ร่วมกับ WWF-ประเทศไทย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย พาคณะผู้บริหารและอาสาสมัครร่วมโครงการพัฒนาความเป็นอยู่แก่ชาวอีสาน และตรวจวัดคุณภาพน้ำจืดบริเวณลุ่มแม่น้ำสงครามตอนล่าง 

 21 ตุลาคม 2558 –  เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา ธนาคารเอชเอสบีซีประเทศไทย ร่วมกับWWF-ประเทศไทย (กองทุนสัตว์ป่าโลก) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) จัดกิจกรรม River and Wetland Watch Volunteering Programme หรือ ร่วมรักษ์สายน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำ ณ จังหวัดนครพนม เพื่อร่วมพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำในเขตแม่น้ำสงครามตอนล่าง โดยนำคณะผู้บริหารและพนักงานของธนาคารฯเรียนรู้วิธีการตรวจวัดคุณภาพน้ำร่วมกับชุมชนในพื้นที่ พร้อมทั้งร่วมบริจาคแทงค์น้ำและเครื่องคอมพิวเตอร์ให้แก่ 3โรงเรียนในเขตชุมชนพื้นที่แม่น้ำสงคราม




ที่ผ่านมา ธนาคารเอชเอสบีซีได้ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณแก่ WWF-ประเทศไทย และ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) อย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายการพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำ แม่น้ำสงครามตอนล่างซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของสัตว์น้ำกว่า 170 ชนิด และเป็นแหล่งอาหารของชุมชนในพื้นที่ถึง 140,000 คน โดยส่วนหนึ่งของงบประมาณดังกล่าว ได้นำมาสนับสนุนกิจกรรม River and Wetland Watch Programme (RWWP) ภายใต้ระยะการดำเนินงาน 2 ปี ระหว่างปีพ.ศ. 2557-2559 เพื่อเปิดโอกาสให้อาสาสมัครที่มีจิตอาสา ได้มีส่วนร่วมผลักดันและรณรงค์การรักษาน้ำ เช่น การร่วมหาความรู้เกี่ยวกับป่าต้นน้ำ การตรวจสอบคุณภาพน้ำ และปลูกป่าชายเลน
 
แม่น้ำสงครามตอนล่าง ถือเป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศ เพราะเป็นแม่น้ำสายเดียวและสายสุดท้ายที่ยังไม่มีสิ่งปลูกสร้างใดๆมาขวางกั้น เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของพันธุ์สัตว์น้ำเกือบ 200  ชนิด และยังเป็นแหล่งรายได้สำคัญต่อการดำรงชีวิตของชาวบ้านในชุมชนกว่า 140,000 คน จากการเล็งเห็นว่า น้ำมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างชุมชนที่แข็งแกร่ง สามารถนำไปสู่การพัฒนาเศษฐกิจในระดับประเทศได้ ธนาคารเอชเอสบีซีจึงได้ร่วมมือกับ WWF-ประเทศไทย ในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนล่างโดยสนับสนุนงบประมาณดังกล่าวในโครงการ “HSBC Water Programme”  ซึ่งนอกจากจะช่วยพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมในวงกว้างแล้ว ยังมุ่งหวังที่จะลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อมนุษย์ แหล่งน้ำจืด และเมืองใหญ่ พร้อมทั้งร่วมสนับสนุนการขึ้นทะเบียนแม่น้ำสงครามตอนล่างให้เป็นเขตพื้นที่ชุ่มน้ำโลกตามอนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention)

สำหรับกิจกรรม ร่วมรักษ์สายน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำ ดังกล่าว ผู้บริหารและกลุ่มอาสาสมัครจากธนาคารเอชเอสบีซีได้ร่วมกันตรวจสอบคุณภาพน้ำในเขตแม่น้ำสงคราม ปลูกป่าชายเลนเพื่อช่วยกรองและกักน้ำสะอาด และมอบเงินบริจาคเพื่อซื้อแทงค์น้ำ เครื่องกรองน้ำ และบริจาคอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้แก่ สามโรงเรียนในเขตพื้นที่คือ โรงเรียนบ้านตาลปากน้ำ โรงเรียนบ้านปากยาม และโรงเรียนบ้านหาดแพง ซึ่งเด็กนักเรียนส่วนใหญ่มีฐานะยากจนและด้อยโอกาส


นางวรนันท์ สุทธปรีดา ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรธนาคารเอชเอสบีซีประเทศไทย กล่าวว่า ดิฉันรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เอชเอสบีซีได้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรมเพื่อรักษาสภาพแวดล้อม ความร่วมมือกับWWF-ประเทศไทย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียในครั้งนี้ สอดคล้องกับเป้าหมายของเอชเอสบีซีที่มุ่งดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะในด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม  กิจกรรมครั้งนี้นับเป็นตัวอย่างที่ดีของความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจ NGO สถาบันการศึกษาและชุมชนท้องถิ่นที่จะช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของไทยให้อย่างยั่งยืนต่อไป"

 
สำหรับชุมชนที่อยู่ติดน้ำพวกเขาคิดว่าน้ำเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แท้จริงแล้วความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำจืดมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิตของทุกๆชีวิต ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ในป่า ริมน้ำหรือแม้กระทั่งในเมือง ความอุดมสมบูรณ์ของพวกเขาก็คือความอุดมสมบูรณ์ของพวกเราเช่นเดียวกัน  การอนุรักษ์และความเข้าใจในเขตพื้นที่ชุ่มน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญที่พวกเราทุกคนและทุกภาคส่วนต้องใส่ใจร่วมกัน ไม่ใช่แต่เฉพาะชุมชนเพียงอย่างเดียว” นายยรรยง ศรีเจริญ หัวหน้าโครงการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์น้ำจืด WWF-ประเทศไทยกล่าวเสริม

  


ขอขอบคุณ คุณมาริษา เลิศศิวาพร การสื่อสารการตลาด, WWF-ประเทศไทย